HomeDirectoryLissom LogisticsNews & Events วิธีการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate : PC ) เพื่อใช้ในการส่งออก
วิธีการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate : PC ) เพื่อใช้ในการส่งออก
- 24 Feb 2023
วิธีการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary certificate : PC )
เพื่อใช้ในการส่งออก
ในการส่งออกพืชหรือผลิตผลพืชไปต่างประเทศ หากผู้ส่งออกประสงค์จะขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช เพื่อแสดงว่าพืชที่จะส่งออกนั้นปลอดศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริการตรวจพืชเพื่อรับรองการปลอดศัตรูพืช ให้ได้ตามมาตรฐานทางด้านสุขอนามัยพืชที่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก และออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้กับพืชหรือผลิตผลพืช เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขนำเข้าของประเทศผู้นำเข้า โดยดำเนินการตรวจพืช ศัตรูพืช และควบคุมให้มีการกำจัดศัตรูพืชทางกักกันพืชที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
การออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate; PC) ให้กับพืชและผลิตผลพืช เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ เป็นการปฏิบัติงาน ภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 15 และมาตรา 16 การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชไม่ใช่เป็นมาตรการบังคับให้ผู้ส่งออกพืช หรือผลิตผลของพืช ต้องขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช แต่เป็นการให้การบริการแก่ผู้ส่งออกที่มีความประสงค์ต้องการขอให้ทางราชการ รับรอง ว่าพืชและผลิตผลพืชที่ส่งออกนั้นปลอดศัตรูพืชพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องให้การบริการตรวจศัตรูพืช และออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชให้ ใบรับรองปลอดศัตรูพืชนี้จะออกให้เฉพาะกรณีรับรองการปลอดศัตรูพืชของพืชและผลิตผลพืชที่ส่งออกไป ยังต่างประเทศเท่านั้น
วิธีการขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช ( Phytosanitary certificate : PC ) เพื่อใช้ในการส่งออก ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์กับผู้ประกอบการ จึงได้นำมาเผยแพร่ให้ได้ทราบ เป็นขั้นตอน ดังนี้
- การเตรียมเอกสาร
- แบบคำขอ พ.ก.9 จำนวน 1 ชุด ( ต้นฉบับ 1 ฉบับ และสำเนา 2 ฉบับ )
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมหลักฐานการมอบอำนาจ (กรณีส่งออกในนามนิติบุคคล หรือผู้ส่งออกไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง) หนังสือมอบอำนาจมีอายุ 1 ปี
- เอกสารประกอบอื่น (ถ้ามี) เช่น หนังสืออนุญาตนำเข้า (Import permit ) บัญชีรายการสินค้า (Packing List) ใบกำกับภาษี ( Invoice) ใบ Letter of Credit ( L/C ) เป็นต้น
- หนังสือสำคัญแสดงการเป็นผู้ส่งออก ที่ออกให้โดยกรมวิชาการเกษตร (ในกรณีการส่งออก ลำไย ทุเรียนสอ และดอกกล้วยไม้)
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ Font Desk เพื่อลงบันทึกการใช้บริการ
- ผู้ส่งออกหรือตัวแทน ยื่นคำขอ พ.ก.9 พร้อมเอกสารประกอบ และแจ้งสถานที่ที่จะให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสินค้า ต่อเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ณ ศูนย์บริการออกแบบ เบ็ดเสร็จ (ศสบ.)
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอ พ.ก.9 และเอกสารประกอบและแจ้งชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ให้ผู้ส่งออกทราบเพื่อนัดหมายวัน-เวลา กับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะไปปฏิบัติงานโดยตรง
- เจ้าหน้าที่จัดส่งคำขอ พ.ก.9 ทางโทรสารให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติงาน ทำการตรวจสอบและ/หรือควบคุมการจำกัดศัตรูพืช
- ผู้ส่งออกแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทางโทรศัพท์หรือด้วยตนเอง เพื่อนัดเวลาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจและ/หรือควบคุมการจำกัดศัตรูพืช
- พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปปฏิบัติงานและจัดทำรายงานการปฏิบัติงานส่งให้ เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ณ ศสบ.ทางโทรสารในวันรุ่งขึ้น (วันทำการ) สำหรับเอกสารต้นฉบับให้รวบรวมจัดส่งให้กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตรทุกวันจันทร์ ผู้ส่งออกมาขอรับใบรับรองปลอดศัตรูพืชได้ที่ ศสบ. โดยนำสำเนา พ.ก.9 และ Bill of Lading มาประกอบการขอรับใบรับรองปลอดศัตรูพืช
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง จัดพิมพ์ใบรับรองปลอดศัตรูพืช และมอบให้ผู้ส่งออกตรวจสอบความถูกต้องและคืนให้กับเจ้าหน้าที่ แล้วชำระค่าธรรมเนียม ต่างๆและรอรับใบรับรองปลอดศัตรูพืชที่ได้ลงนามโดยมีผู้มีอำนาจแล้ว
- แนะนำในการยื่นขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช
การติดต่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม
- สำนักงานผู้แทนกรมวิชาการเกษตรประจำ ณ ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริม การส่งออก โทร.02-5120123 ต่อ 811 และ 820 โทรสาร. 02-512 0329
- กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร.02-579-4568, 02-579-1581, 02-940-6466-8 โทรสาร 02 579-1581, 02-579-3576
- กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตรสำนักงานคลังสินค้า ที่ 2 ท่าอากาศยานกรุงเทพ โทร.02-504-2719-20,02-535-1696 โทรสาร.02-504-2720 (เปิดทำการทุกวัน)
Share This :
More News & Events :
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่ีมีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) 14 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น 22 Jan 2021
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าชั่วคราว (A.T.A CARNET) 10 Jul 2020
-
FORM JTEPA คืออะไร? 03 Jul 2020
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.