Re-Export คืออะไร?
- 18 May 2020
![](/images/Black.jpg)
ของส่งกลับ หรือ (Re-Export) หมายถึง ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ผู้นำเข้าของนั้นต้องการส่งกลับไปยังต่างประเทศ โดยไม่เปลี่ยนรูปร่างหรือลักษณะประการใดๆ หรือของที่นำเข้ามาเพื่อเป็นของใช้สิ้นเปลืองสำหรับยานพาหนะที่เดินทางไปต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ทางศุลกากรในด้านการควบคุมและหารายได้จากสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้าประเทศ โดยสามารถขอคืนเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้แล้วได้ 9 ใน 10 ส่วน หรือส่วนที่เกิน 1,000 บาทของจำนวนที่เรียกเก็บไว้ โดยคำนวณตามใบขนสินค้าขาออกแต่ละฉบับ โดยมีเงื่อนไขว่า
- ของต้องอยู่ในสภาพเดิมที่นำเข้า
- ต้องส่งกลับออกไปภายใน 1 ปีนับแต่วันนำเข้า การปฏิบัติพิธีการในการส่งสินค้าขาออก
- ของที่ส่งออกไปที่สามารถขอคืนอากรได้ต้องอยู่ในสภาพเดิมที่นำเข้ามา ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหีบห่อ หรือภาชนะบรรจุ หรือต้องสำแดงเลขหมาย เครื่องหมายใหม่ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาคำร้องของผู้ส่งของออก และแจ้งให้หน่วยงานตรวจปล่อยสำนักงานศุลกากรที่นำของเข้า ส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมการเปลี่ยนแปลงตามความประสงค์ดังกล่าว
3. ผู้ส่งของออกจะต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุผลในการขอส่งกลับออกไปโดยขอใช้สิทธิการชำระอากรของ Re-export พร้อมใบขนสินค้า
- ถ้าผู้ส่งของออกส่งของออกทางท่าเดียวกับที่นำเข้า เช่น นำเข้าทางท่าเรือกรุงเทพและส่งออกทางท่าเรือกรุงเทพ ให้ชำระเฉพาะอากรขาเข้าเพียง 1 ใน 10 ส่วน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท
- หากผู้ส่งของออกส่งของออกทางท่าอื่นซึ่งมิใช่ท่าที่นำเข้า เช่น นำเข้าที่ท่าเรือกรุงเทพ แต่ส่งออกที่ท่าเรือแหลมฉบัง จะต้องชำระภาษีอากรต่างๆให้ครบถ้วนก่อน เมื่อได้ส่งของกลับออกไปแล้วจึงขอคืนอากร 9 ใน 10 ส่วน
*** ทั้งนี้ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นของรายเดียวกันกับที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร และต้องไม่นําของนั้นไปใช้ประโยชน์ในระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร เว้นแต่การใช้ประโยชน์เพื่อส่งของนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และมิได้เปลี่ยนแปลงสภาพ หรือลักษณะแห่งของนั้น โดยต้องยื่นคําร้องขอคืนอากรภายในกําหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันส่งกลับ ตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ***
ระเบียบและหลักเกณฑ์การส่งออก ต้องขออนุญาตส่งออก โดยสินค้าซึ่งผลิตหรือมีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศสามารถส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (RE-EXPORT) ได้
1. สินค้า RE-EXPORT โดยทั่วไปสามารถส่งออกได้เสรี ยกเว้นสินค้าที่มีมาตรการควบคุมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์
สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์ได้ให้การรับรองไว้แก่ประเทศผู้ส่งสินค้ามาว่าจะไม่ส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (RE-EXPORT) ให้ประเทศที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง (Import Certificate)
ประเภทของของส่งกลับสามารถแยกได้ 2 ประเภท คือ
1) ของที่อยู่ในอารักขาศุลกากรยังไม่ได้ปฏิบัติพิธีการชำระค่าภาษีอากร และยังไม่ได้ทำการตรวจปล่อยส่งมอบไปจากอารักขาของศุลกากร
2) ของที่อยู่นอกอารักขาศุลกากร คือ ของที่ได้ปฏิบัติพิธีการชำระค่าภาษีอากรครบถ้วน ถูกต้อง และได้ตรวจปล่อยส่งมอบไปพ้นจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
กรณีของนําเข้าที่ได้ส่งกลับ (Re-Export) ผู้นําของเข้าจะต้องยื่นคําร้องขอคืนภายในกําหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ส่งของกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
ติดต่อสอบถามและข้อมูลเพิ่มเติม
- Customs Call Center โทร 1164 หรือ Customs Clinic โทร 0-2667-7880-4
- โทรสาร 0-2667-7885
- อีเมลล์ customs_clinic@customs.go.th
แหล่งที่มา : https://bit.ly/2y2ThjU , https://bit.ly/2yOO5Rh , https://bit.ly/3bwmYHW
Share This :
More News & Events :
-
ประเภทของการขนส่ง 14 Feb 2025
-
เรามารู้จัก Dumping และ Anti-Dumping 31 Jan 2025
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่ีมีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
-
-
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
-
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) 14 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
-
-
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
-
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
-
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น 22 Jan 2021
-
-
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
-
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
-
-
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
-
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.