การนำเข้า-ส่งออกสินค้าชั่วคราว (A.T.A CARNET)
- 10 Jul 2020
เอกสารค้ำประกัน A.T.A. CARNET หมายถึง เอกสารศุลกากรระหว่างประเทศ ที่ใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรแทนใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออก ใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา เอกสารผ่านแดน และเป็นเอกสารค้ำประกันค่าภาษีอากรสำหรับของที่นำเข้ามาชั่วคราวโดยได้รับการยกเว้นอากรภายใต้อนุสัญญา A.T.A. CARNET โดยเอกสารค้ำประกันฯ จะมีอายุไม่เกิน ๑ ปี โดยผู้ออกเอกสารค้ำประกัน A.T.A. CARNET และผู้ค้ำประกันค่าภาษีอากรจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมศุลกากร และต้องเป็นสมาชิกของระบบการออกเอกสารค้ำประกันระหว่างประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทย กรมศุลกากรได้พิจารณาเห็นชอบให้ "สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย" เป็นผู้ทำหน้าที่ออกเอกสารค้ำประกัน A.T.A. CARNET ให้แก่ผู้ส่งออกของประเทศไทย และเป็นผู้ค้ำประกันค่าภาษีอากรในกรณีที่ผู้นำเข้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการนำเข้าชั่วคราว
เงื่อนไขในการใช้เอกสารค้ำประกัน A.T.A. CARNET
1. สินค้าที่นำออกไปชั่วคราวจะต้องนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายใน ๑ ปี โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปร่างแต่ประการใด ภายใต้วัตถุประสงค์ตามอนุสัญญา A.T.A. CARNET ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก คือ
- ตัวอย่างสินค้า
- ร่วมงานแสดงสินค้า นิทรรศการหรือการประชุม
- อุปกรณ์วิชาชีพ เช่น กล้องถ่ายภาพยนตร์ กล้องถ่ายภาพ เป็นต้น
- อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องมือทดสอบ อุปกรณ์ทางการแพทย์
2. เป็นสินค้าที่ส่งไปยังประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญา A.T.A. CARNET (Contracting Party) ปัจจุบันมีประเทศภาคีอนุสัญญา 77 ประทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเก๊า ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา เป็นต้น
3. ไม่เป็นสินค้าที่นำเข้าไปเพื่อใช้ในการผลิตหรือซ่อมแซม
4. ไม่เป็นสินค้าที่ใช้สิ้นเปลืองที่ไม่มีการนำกลับคืน เช่น แผ่นพับ โบรชัวร์
5. ไม่เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ และน้ำมันเชื้อเพลิง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เอกสารค้ำประกัน A.T.A. CARNET
1. ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดทำเอกสาร หากนำสินค้าไปยังประเทศที่อยู่ในอนุสัญญา A.T.A CARNET เอกสารเพียงชุดเดียวสามารถใช้แทนทั้งใบขนสินค้าขาเข้า และใบขนสินค้าขาออก และใบขนผ่านแดน รวมทั้งยังได้รับการยกเว้นการยื่นหลักประกันเมื่อนำสินค้าเข้า และการขอคืนหลักประกันเมื่อนำสินค้ากลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ถือเอกสารได้รับความสะดวกมากขึ้น
2. ขจัดปัญหาด้านพิธีการศุลกากรที่อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
3. ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะเมื่อนำสินค้าเข้าไปยังประเทศที่อยู่ในอนุสัญญา A.T.A. CARNET จะได้รับการยกเว้นค่าภาษีอากรในการนำเข้าชั่วคราวและประหยัดค่าใช้จ่ายทางธนาคาร ที่ไม่ต้องวางเงินหลักประกันสินค้าขาเข้าในแต่ละประเทศ
4. เอกสาร A.T.A CARNET สามารถใช้นำสินค้าเข้า - ออกได้หลายประเทศในอนุสัญญา A.T.A CARNET เช่น นำสินค้าไปสาธิตที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเสร็จแล้วนำสินค้าออกไปสาธิตต่อที่ประเทศจีน เป็นต้น
5. เป็นการส่งเสริมการส่งออกของประเทศ ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับความสะดวกในการนำตัวอย่างสินค้าติดตัวออกไปแสดง หรือเสนอขายในต่างประเทศ
ขั้นตอนการขอให้ออกเอกสาร A.T.A CARNET
1. กรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม A.T.A CARNET ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. เตรียมหลักฐานประกอบการขอใช้เอกสาร ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกิจการและผู้เดินทาง
- สำเนาพาสปอร์ตของผู้เดินทาง
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท/ห้างร้าน อายุไม่เกิน 6 เดือน
- Invoice สกุลเงินบาท
- ภาพถ่ายสินค้าภาพสี 1 ชุด
3. เตรียมหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าสินค้าที่นำออกไปชั่วคราวด้วยเอกสาร จะนำกลับคืนประเทศไทยในสภาพและจำนวนเท่าเดิม ซึ่งจะคิดโดยอัตราภาษีของประเทศที่ต้องการนำเข้า ตามมูลค่าของสินค้าใน Invoice โดยสามารถวางหลักทรัพย์ค้ำประกันด้วย สัญญาค้ำประกัน แคชเชียร์เช็คหรือเงินสดไว้กับสภาหอการค้า
4.ยื่นแบบฟอร์ม A.T.A CARNET หลักฐานประกอบทั้งหมดและหลักประกันแก่เจ้าหน้าที่ A.T.A CARNET เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
5. รับเอกสาร ไปใช้งาน พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียม หลังจากยื่นไม่เกิน 3 วันทำการ
6. การขอหลักทรัพย์ค้ำประกันคืน
- นำเอกสาร A.T.A CARNET ที่ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้วคืนให้กับฝ่าย A.T.A CARNET โดยกรอกรายละเอียดแบบฟอร์ม A.T.A 7 เพื่อขอรับเงินค้ำประกันคืน
- เจ้าหน้าที่ A.T.A CARNET ตรวจสอบความถูกต้องในการใช้เอกสาร หากตรวจสอบแล้วถูกต้องจะคืนเงินค้ำประกันภายใน 15 วันทำการ หากไม่ถูกต้องจะต้องรอพิสูจน์หลักฐานการใช้งานก่อน
หากสนใจจัดทำเอกสารค้ำประกัน A.T.A. CARNET สารถติดต่อได้ที่ฝ่ายเอ.ที.เอ.คาร์เนท์และมาตรฐานสินค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โทร. 02-018-6888 ต่อ 3710,3910,3020 E-mail: [email protected]
แหล่งที่มา : https://bit.ly/302lrpp, https://bit.ly/31Wgzo0
Share This :
More News & Events :
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) 14 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น 22 Jan 2021
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
FORM JTEPA คืออะไร? 03 Jul 2020
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.