พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น
- 22 Jan 2021
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น
ในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้า เช่นกระทรวงพาณิชย์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และมีคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารใบอนุญาตต่างๆ ผู้นำเข้าจะต้องเตรียมเอกสารที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน เพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้าต่อไป
ขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า
1. ประเภทใบขนสินค้าขาเข้า เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 9 ประเภทตามลักษณะการนำเข้า ดังนี้
1.1) แบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภทที่กรมศุลกากรมิได้กำหนดให้ใช้ใบขนสินค้าประเภทอื่น
1.2) แบบ กศก. 102 ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทางอากาศยานหรือพิธีการอื่นที่กรมศุลกากรกำหนดสำหรับของที่นำเข้าในลักษณะเฉพาะ เช่น การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
1.3) แบบ กศก. 103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกำหนด
1.4) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่าง ๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา
1.5) แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย- มาเลเซีย ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
1.6) แบบใบแนบ 9 ใบขนสินค้าถ่ายลำ ใช้สำหรับพิธีการสินค้าถ่ายลำ
1.7) แบบที่ 448 ใบขนสินค้าผ่านแดน ใช้สำหรับพิธีการสินค้าผ่านแดน
1.8) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำรถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
1.9) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับเรือสำราญและกีฬาที่นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเรือสำราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
2. เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า
2.1) สำหรับพิธีการชำระอากร พิธีการวางประกัน พิธีการขนถ่ายข้างลำ พิธีการคลังสินค้า ทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร ต้องมีเอกสารประกอบ ได้แก่
- ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ เว้นแต่กรณีที่กรมศุลกากรกำหนดให้มีการจัดทำคู่ฉบับเพิ่ม เช่น สำหรับ การนำเข้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน กรณีดังกล่าวต้องมีสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับ
- ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill)
- บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
- แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) (Foreign Transaction Form) กรณีมูลค่าของนำเข้าเกินกว่า 500,000 บาท
- แบบแสดงรายละเอียดราคาศุลกากร (กศก. 170)
- ใบสั่งปล่อยสินค้า (กศก.100/1)
- บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
- ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
- ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
- ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีขอลดอัตราอากร
- เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า หรือแคตตาล็อก เป็นต้น
2.2) พิธีการหลายเที่ยวเรือ ต้องเพิ่มพิมพ์เขียว (BLUE PRINT) แบบแปลน แบบพิมพ์ หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้ทำใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ
2.3) พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิต้องเพิ่มสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า (กศก.99/1) อีก 1 ฉบับ
2.4) พิธีการส่งเสริมการลงทุนต้องเพิ่มหนังสืออนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2.5) พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
คำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป (แบบที่ 369)
คำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป ตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด
2.6) พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า กรณีนำเข้าโดยผู้อื่นที่มิใช่ผู้รับอนุญาตจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ต้องเพิ่ม คำขออนุญาตนำของเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า
2.7) พิธีการสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT)
- กรณีอยู่ในอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT) ชำระอากร 1 ใน 10
ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
- กรณีสินค้าอยู่นอกอารักขาของศุลกากร ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
คำร้องขอผ่อนผันทำใบขนสินค้าส่งกลับ (RE-EXPORT)ขอคืนอากร9 ใน 10
ใบขนสินค้าขาออก (กศก.101/1) พร้อมเอกสารประกอบ
2.8) พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ) ต้องเพิ่มเอกสารดังนี้ คือ
- แบบ กนอ.02-1 กรณีสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบ
- แบบ กนอ.02-1 และ กนอ.101 กรณีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและ เครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือการค้าเพื่อส่งออก
3. ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้า
(1) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter ส่งข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
(2) เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าที่ส่งเข้ามา เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้นำของเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร ราคา เป็นต้น ถ้าพบว่าข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งมาไม่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง
(3) เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าที่ส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมกับตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาเข้าในขั้นตอนการตรวจสอบพิธีการเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ แล้วแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า
- ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะสั่งการตรวจ หลังจากนั้น ผู้นำเข้าหรือตัวแทนสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระค่าภาษีอากรและรับการตรวจปล่อยสินค้าได้
- ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำของเข้า
(4) ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าตามวรรคแรกในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้
IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM
IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM
IMPORT/EXPORT INVOICE LIST
สรุปเอกสารสำหรับการนำเข้าสินค้าโดยปกติ
1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Paperless)
2. ใบตราส่งสินค้า (bill of lading หรือ B/L)
3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing list)
5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)
7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3bYSp1d, https://bit.ly/3pknss
Share This :
More News & Events :
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) 14 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าชั่วคราว (A.T.A CARNET) 10 Jul 2020
-
FORM JTEPA คืออะไร? 03 Jul 2020
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.