การคำนวนภาษีนำเข้า

  • 25 Feb 2021


การคำนวนภาษีนำเข้า


                การคำนวนภาษีนำเข้าเป็นเรื่องที่ผู้นำเข้าทุกองค์กรควรทราบ เพื่อนำภาษีที่คำนวนไปรวมกับต้นทุนของสินค้าเพื่อนำไปวางแผนการตลาดและการตั้งราคาขายสินค้าต่อไป ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องทราบถึง HS CODE และอัตราอากรนำเข้าก่อนจึงจะสามารถคำนวนภาษีนำเข้าได้ โดยใช้หลักการ CIF (ไม่ใช่ TERM CIF) ในการคำนวนภาษี

CIF คืออะไร ?


1. “C” หมายถึง COST คือ ต้นทุนของราคาสินค้า ดูได้จากราคาสินค้าใน COMMERCIAL INVOICE (CI) หรือ PURCHASE ORDER (PO)
2. “I” หมายถึง INSURANCE คือ ประกันภัย โดยประกันภัยของสินค้า มี 2 แบบ
2.1. ไม่ทำประกันภัยสินค้ากับบริษัทประกันภัย แต่เวลาออกของนั้น จำเป็นต้องมีค่าประกันภัย โดยจะคิด 1 %ของราคาสินค้าทั้งหมด ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายจะไม่สามารถทำการเคลมได้
2.2. ทำประกันภัยสินค้ากับบริษัทประกันภัย โดยจะใช้เบี้ยกระกันภัยสินค้าในการคำนวนและเมื่อสินค้าเกิดความเสียหายสามารถสามารถเคลมกับบริษัทประกันได้
**ดังนั้นทางเราแนะนำว่าควรทำประกันภัยสินค้ากับบริษัทประกันภัย เนื่องจากค่าประกันภัยที่เสียไปอาจถูกกว่าหรือเท่ากับแบบแรก แต่กรรมธรรม์ที่เราทำนั้น สามารถคุ้มครองได้จริงในกรณีสินค้าของเราเกิดความเสียหาย**
3. “F” หมายถึง FREIGHT คือ ค่าขนส่ง โดยผู้นำเข้าสามารถทราบได้จากการสอบถาม Freight Forwarder (ตัวแทนผู้นำเข้าส่งออก) หรือ สายเรือ ที่ใช้บริการนำเข้า

ขั้นตอนการนำ 
CIF มาคำนวนภาษีนำเข้า

ก่อนคำนวนภาษีนำเข้า ควรคำนวนราคาสินค้าและราคาค่าขนส่ง เป็นเงินบาทก่อนโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากเว็บกรมศุลกากร จากนั้นคำนวนภาษีนำเข้าดังนี้
1. การคิดอากรขาเข้า คือ (C+I+F)*อัตราอากรขาเข้า(%)
2. การคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ (C+I+F) + ผลลัพธ์จากข้อ 1 (อากรขาเข้า)  *VAT 7% (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
3. ภาษีอากรนำเข้า คือ ผลลัพธ์จากข้อ 1 (อากรขาเข้า) + ผลลัพธ์จากข้อ 2 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
**เนื่องจากสินค้าบางชนิดหรือถ้าหากใช้สิทธิพิเศษต่างๆ อัตราอากรขาเข้าอาจจะเป็น 0% ผู้นำเข้าก็ยังจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้าสินค้า**

ตัวอย่างการคำนวนภาษีนำเข้า


- อัตราแลกเปลี่ยน USD 1 : THB 30
- อัตราอากรขาเข้า 30 %
- COST = USD 1,000
- INSURANCE = USD 10 (คิดตามแบบที่ 1  โดยจะคิด 1 %ของราคาสินค้าทั้งหมด)
- FREIGHT = USD 250
1. คำนวนราคาของ CIF จาก USD เป็น THB
- COST = 30,000 บาท
- INSURANCE = 300 บาท
- FREIGHT = 7,500 บาท
CIF รวมจะเท่ากับ 37,800 บาท
2. การคิดอากรขาเข้า คือ 37,800 * 30% = 11,340 บาท
3. การคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 37,800 + 11,340 * VAT 7% = 3,439.8 บาท
4. ภาษีอากรนำเข้า คือ 11,340 + 3,439.8 = 14,779.8 บาท

                จากตัวอย่างการคำนวนภาษีนำเข้าเท่านี้ผู้นำเข้าก็จะสามารถประมาณค่าภาษีอากรนำเข้าได้และยังนำไปวางแผนการตลาดและการขายได้อีกด้วย ทั้งนี้ค่าภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อนำสินค้าเข้ามาเพื่อใช้ภายในประเทศไทย นอกจากนี้สินค้าบางชนิดอาจจำเป็นต้องเสียภาษีสรรพสามิต หรือภาษีเพื่อมหาดไทยด้วยขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าที่กรมดังกล่าวระบุไว้ ดังนั้นผู้นำเข้าควรตรวจสอบรายละเอียดสินค้าที่ต้องการนำเข้าก่อนทำการนำเข้าจริง เพื่อที่จะสามารถคำนวนต้นทุนของสินค้าได้แม่นยำขึ้น

Share This :

More News & Events :

See All News & Events

Why Join EASY DIRECTORY ?

Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.