การ Enter เอกสารคืออะไร?

  • 07 May 2021


การ Enter 
เอกสารคืออะไร?
​                Enter เอกสาร คือ การยืนยันข้อมูลบนเอกสาร Bill of lading(B/L) เพื่อที่ทางสายเรือหรือทาง Co-loader จะนำข้อมูลนำเข้าส่งให้กับทางกรมศุลกากรได้อย่างถูกต้อง กรณีผู้ที่นำเข้าสินค้าครั้งแรกควรระมัดระวังในการตอบกลับ Enter เอกสารเป็นอย่างมากเนื่องจากทางหากผิดขึ้นมาจะทำให้เสียเวลาในการแก้ไขเอกสารและอาจจะเสียค่าใช้จ่ายโดยที่ผู้นำเข้าไม่ควรจะเสียอีกด้วย

                โดยทั่วไปทางสายเรือหรือทาง Co-loader จะโทรหาหรือส่งอีเมลให้กับผู้นำเข้าเพื่อให้ Enter เอกสารหรือกับข้อมูลเรือ, ประมาณวันเรือถึง(ETA)และรายละเอียดต่างๆของแต่ละสายเรือหรือทาง Co-loader เมื่อเรือใกล้ถึงไทยหรือเรือถ่ายลำอยู่ที่ประเทศอื่นเพื่อรอเรือต่อมาที่ไทย

การ Enter 
เอกสาร
            ในสมัยก่อนนั้นการ Enter เอกสารสามารถแก้ไขได้เกือบทุกจุดในเอกสาร แต่ในปัจจุบันนั้นทางสายเรือหรือทาง Co-loader ของแต่ละที่ไม่สามารถแก้ไขรายละเอียดต่างๆได้ สามารถแก้ไขได้แต่ชื่อของผู้นำเข้าเท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบันมีเอกสารปลอมมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน เช่น ถ้าหากชื่อ นามสกุล หรือบริษัทผิด สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้

จุดที่ควรตรวจสอบก่อน Enter 
เอกสาร
1. กรณีนามบุคคลชื่อ, นามสกุลและที่อยู่ ต้องตรงตามกับบัตรประชาชนหรือตรงตามกับที่ลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกไว้
กรณีนิติบุคคลชื่อและที่อยู่ ต้องตรงตามกับที่ลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออกไว้

2. Mark ในเอกสาร BL ตรงตามกับรายละเอียดที่ติดมากับข้างกล่องสินค้า

3. จำนวน(No.), หน่วยของสินค้า(Packages), ชื่อของสินค้า(Description), น้ำหนัก(G.W.)และขนาด(CBM) ตรงตามกับสินค้าที่ต้องการนำเข้ามาหรือไม่ สามารถดูได้จาก Invoice และ Packing list

4. Status การเลือกนั้นจะมี 4 ประเภท
4.1 CFS(เปิดตู้เข้าโกดัง) คือเมื่อสินค้าถึงทางสายเรือจะนำสินค้าเข้าโกดังเพื่อรอทางผู้ให้บริการผู้นำเข้าสินค้ามาเคลียร์สินค้าและนำรถเข้ามาขึ้นของนำไปส่งยังปลายทาง
4.2 CY(ลากตู้) คือเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ลงมาที่ลานตู้คอนเทนเนอร์ทางผู้ให้บริการผู้นำเข้าสินค้ามาเคลียร์สินค้าและลากตู้ไปยังปลายทาง
4.3 ขนส่งหน้าตู้แรงงานลูกค้า คือ การนำเข้าแบบ FCL แต่ผู้นำเข้าไม่มีพื้นที่ในการนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ จึงทำการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือแทนเพื่อนำสินค้าออกมาและจัดส่งไปยังปลายทาง
4.4 ขนส่งหน้าตู้แรงงานท่าเรือ การทำงานเหมือนกับขนส่งหน้าตู้แรงงานลูกค้า แต่ผู้ที่ทำการขนย้ายสินค้าออกจากตู้จะเป็นคนของท่าเรือ **ถ้าหากใช้ Status นี้จำเป็นต้องแจ้งท่าเรือล่วงหน้าและต้องตรวจสอบกับทางสายเรือและท่าที่นำเข้า เนื่องจากบางสายเรือและท่าที่นำเข้านั้นไม่มีแรงงานท่าเรือ

                โดยถ้าหากนำเข้าแบบ LCL สามารถเลือก Status ได้เพียงข้อ 4.1 เท่านั้นและการนำเข้าแบบ FCL สามารถเลือกได้ทั้งข้อ 4.2, 4.3 และ 4.4 ผู้นำเข้าสามารถเลือกได้จากความเหมาะสมของที่จัดส่งสินค้าหรือตามขนาดของสินค้า โดยแต่ละ Status จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันขึ้นอยุ่กับสายเรือหรือ Co-loader ผู้นำเข้าควรตรวจสอบก่อนเลือกใช้

เมื่อเอกสารไม่ถูกต้อง ทำอย่างไร?

            ในกรณีเมื่อตรวจสอบแล้วเอกสารไม่ถูกต้อง จะต้องทำการแก้ไขโดยแจ้งกับทางต้นทางให้แก้ไขรายละเอียดนั้นๆ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ทางเราแนะนำผู้นำเข้าส่งออกควรให้ทาง Shipping ของผู้นำเข้าเป็นผู้จัดการจะง่ายต่อการแก้ไขมากกว่าและถ้าหากผู้นำเข้าทำการนำเข้าสินค้าควรหา Shipping เคลียร์สินค้าไว้ก่อนนำเข้าเสมอ เพื่อง่ายต่อการ Enter เอกสารที่ถูกต้องแน่นอนและง่ายต่อการจัดการรายละเอียดต่างๆในการนำเข้าสินค้า

สนใจขอคำปรึกษา อยากได้คำแนะนำ หรือติดปัญหา สามารถติดต่อทีมงาน Lissom Logisticsได้จากช่องทางข้างล่างนี้
TEL : 02-8959771
MOBILE : 091- 4195466
E – MAIL : [email protected]
WEBSITE : http://www.lissom-logistics.co.th/index.php

Share This :

More News & Events :

See All News & Events

Why Join EASY DIRECTORY ?

Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.