FCL และ LCL ต่างกันอย่างไร?

  • 30 Apr 2020


FCL และ LCL ต่างกันอย่างไร 

สำหรับการจัดส่งสินค้าทางทะเล นั้น มีด้วยกัน 2 ประเภท นั่นคือ FCL และ LCL
FCL (Full Container load) คือ การขนส่งสินค้าแบบบรรจุเต็มตู้ โดยมีเจ้าของเพียงรายเดียว เพื่อใช้งานพื้นที่ของตู้คอนเทนเนอร์นั้นได้เต็มที่โดยไม่ต้องแชร์ตู้กับคนอื่น
- เป็นการขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีทั้งแบบตู้ขนาด 20 ฟุต 40 ฟุต และแบบ 40 ฟุตไฮคิวบ์ เป็นตู้แบบใด นอกจากจำนวนสินค้าแล้ว ทางผู้ขนส่งอาจต้องดูถึงน้ำหนักและขนาดของสินค้าด้วยว่าเหมาะสมกับตู้คอนเทนเนอร์ชนิดใด
- มีตู้คอนเทนเนอร์หลายประเภทให้เลือกตามความเหมาะสมของจำนวนและขนาดของสินค้าซึ่งเหมาะกับผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าจำนวนมาก หรือผู้ประกอบการรายใหญ่
LCL (Less than Container Load) คือ การขนส่งแบบแชร์พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะมีเจ้าของสินค้าหลายรายรวมกันมาในตู้คอนเทนเนอร์
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการส่งสินค้าในปริมาณน้อย  เพียงพอสำหรับการส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์
- ส่วนใหญ่ทางผู้ให้บริการจะมีอัตราค่าขนส่งสำหรับการส่งสินค้าแบบ LCL อยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้จ่ายตามอัตราจริงตามการขนส่ง และตามอัตราของทางผู้ให้บริการ โดยที่ไม่ต้องจ่ายแบบเหมาตู้ ช่วยให้สามารถส่งสินค้าได้ในอัตราค่าส่งที่ถูกลง
- เหมาะสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย สามารถขนส่งร่วมกับผู้ค้ารายย่อยรายอื่นๆ ได้
- เป็นการแชร์พื้นที่ภายในตู้คอนเทนเนอร์ของผู้ส่งหลายรายรวมกัน

การส่งสินค้าแบบ FCL (Full Container load)
ข้อดีของ FCL
- ส่งสินค้าได้คุ้มค่าและได้ประสิทธิภาพมากกว่าหากสินค้ามีจำนวนมากหรือสินค้าสามารถใช้พื้นที่ได้เต็มตู้คอนเทนเนอร์
- สามารถเคลียร์สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรได้รวดเร็วกว่า แบบ LCL เมื่อเคลียร์สินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถขนส่งโดยลากตู้ออกไปได้เลย เนื่องจากไม่ต้องรอกำหนดเวลาเปิดตู้แบบ LCL 
- ไม่ต้องแชร์พื้นที่ภายในตู้คอนเทนเนอร์กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และสามารถจัดเรียงบรรจุสินค้าได้อย่างปลอดภัยมากกว่าและเต็มพื้นที่คอนเทนเนอร์มากกว่า
ข้อเสียของ FCL 
- ถ้าหากสินค้าที่ขนส่งมีปริมาณน้อยเกินไป ไม่เต็มตู้ ก็อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแบบ LCL หรือขาดทุนได้

การส่งสินค้าแบบ LCL (Less than Container Load)
ข้อดีของ LCL 
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เมื่อขนส่งสินค้าจำนวนน้อยหรือ เป็นสินค้าใช้พื้นที่น้อย เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าระวางเต็มตู้ แต่จะเสียค่าระวางผ่าน Dimension เป็นหลัก
ข้อเสียของ LCL 
- เนื่องจากในหนึ่งตู้คอนเทนเนอร์มีเจ้าของสินค้าหลายราย ทำให้เมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางแล้ว ยังคงไม่สามารถเคลียร์สินค้าผ่านพิธีศุลกากรแล้วขนส่งแบบลากตู้ออกไปได้รวดเร็วเหมือน FCL เนื่องจากผู้ให้บริการหรือการท่าเรือ จะมีกำหนดเวลาให้สำหรับการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อนำสินค้าเข้าโกดังสินค้าที่ท่าเรือ ดังนั้นผู้นำเข้าแต่ละรายจะต้องติดต่อเช็คกับ Freight Forwarder ก่อนว่าตู้คอนเทนเนอร์ที่มีสินค้าของเราอยู่นั้น จะมีกำหนดเปิดตู้เมื่อไหร่ ซึ่งอาจจะมีกำหนดเวลาประมาณ 3-5 วัน หลังจากเรือเข้าท่าเรือแล้ว
- ระยะเวลาในการขนส่งที่ไม่แน่นอนอาจมีความล่าช้าหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้
- สินค้าที่ส่งแบบ LCL จะต้องมีการแพ็คกิ้งที่รัดกุมป้องกันความเสียหายของสินค้า เนื่องจากสินค้าในตู้มีความหลากหลายอาจมีการวางทับซ้อนกัน แล้วเกิดความเสียหายได้

การพิจารณาว่าจะเลือกใช้การขนส่งแบบ FCL หรือ LCL นั้น เราควรพิจารณาในหลายองค์ประกอบ เช่น ประเภทสินค้า ปริมาณสินค้า ระยะเวลา ราคา หรือปัจจัยอื่นๆ มาประกอบ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้นำเข้า-ส่งออก และจะต้องเลือกผู้รับขนส่งที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพ และสามารถให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม เพราะในบางกรณี คุณอาจเหมาะสมกับการส่งแบบ LCL มากกว่า FCL หรือแบบ FCL มากกว่า LCL ก็ได้ หากผู้นำเข้าส่งออกไม่มีความเชี่ยวชาญและคำนวณผิด คุณอาจมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้

ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ : https://bit.ly/2ViVYXz
การคำนวณปริมาตรสินค้า (CBM) : https://bit.ly/3cmE9wn

แหล่งที่มา : https://bit.ly/3ermEwF , https://bit.ly/3bfMxgR

Share This :

More News & Events :

See All News & Events

Why Join EASY DIRECTORY ?

Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.