HomeDirectoryลิสเซิม โลจิสติกส์News & Eventsสาระน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E)
สาระน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E)
- 04 Dec 2020
สาระน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E)
Form E เอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าชนิดหนึ่ง โดยหน้าที่ของ Form E คือเอกสารที่รับรองถิ่นกำเนิดสินค้าว่าเป็นสินค้าที่ผลิตและส่งออกจากสมาชิกประเทศใน ACFTA โดยผ่านเกณฑ์ถิ่นกำเนิดและได้รับถิ่นกำเนิดภายใต้ ACFTA
โดย ASEAN-China Free Trade Area (ACFTA) เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนนั้น ด้วยจุดประสงค์ในการมุ่งขยายการค้า พัฒนาเศรษฐกิจ และการลงทุนระหว่างกันในประเทศที่เป็นสมาชิก ACFTA ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 11 ประเทศ
การขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่เป็นสมาชิก ACFTA นั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อตกลงร่วมกันของ ACFTA เท่านั้น อีกทั้งไม่ใช่สินค้าทุกชนิดที่จะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าได้ ผู้นำเข้าจึงจำเป็นต้องเช็คพิกัดศุลกากรว่าสินค้าที่จะนำเข้ามานั้น สามารถลดหย่อนภาษีนำเข้าได้หรือไม่
10 สาระน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E)
1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เริ่มต้นใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 ปัจจุบัน ได้รับการปรับปรุงเป็นฉบับใหม่ล่าสุด หรือเรียกว่า ACFTA Upgrading Protocol และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา
2. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ เป็นสีขาว แทนสีเทา โดยมีแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลอยู่ด้านหน้า และรายละเอียดข้อมูลอยู่ด้านหลัง จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
3. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ ยกเลิกการจำกัดจำนวนรายการสินค้า จากเดิมที่จำกัดไว้ไม่เกิน 20 รายการต่อฉบับ เป็นแสดงรายการเกิน 20 รายการได้
4. การระบุ FOB ในหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะกรณีที่สินค้าผ่านคุณสมบัติถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยเกณฑ์สัดส่วนวัตถุดิบภายในภูมิภาค (RVC) เท่านั้น จากเดิมที่กำหนดให้ระบุทุกกรณี
5. ประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน จะให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเกือบทุกรายการ ปัจจุบันยกเลิกอัตราภาษีภายใต้ACFTA แล้วกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้า หรือราว 8,000 กว่ารายการ
6. Form E มีอายุ 1 ปีเท่านั้น นับจากวันที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
7. ข้อมูลที่ระบุในเอกสารหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า จะต้องกรอกอย่างถูกต้อง และตรงกับเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ประกอบการนำเข้าและส่งออก หากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด อาจทำให้ไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าได้
8. หน่วยงานภาครัฐของไทยที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าคือ กรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ ส่วนหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อพิจารณาการให้สิทธิพิเศษหรือการลดภาษีศุลกากรนำเข้า คือ กรมศุลกากรและกระทรวงการคลัง
9. ประเทศที่เป็นสมาชิกในเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) มีทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนามและจีน
10. ปัจจุบัน สามารถให้บริษัทชิปปิ้งเป็นผู้ดำเนินการจัดทำ Form E แทนผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าได้ โดยที่ผู้นำเข้าไม่ต้องไปดำเนินการด้วยตัวเอง เป็นอีกทางเลือกที่ผู้นำเข้าสามารถเลือกใช้เพื่อประหยัดเวลาและรายละเอียดเอกสารที่ถูกต้อง
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3myL5vG
Share This :
More News & Events :
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) 14 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น 22 Jan 2021
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าชั่วคราว (A.T.A CARNET) 10 Jul 2020
-
FORM JTEPA คืออะไร? 03 Jul 2020
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.