FORM JTEPA คืออะไร?
- 03 Jul 2020
FORM JTEPA คืออะไร?
JTEPA ย่อมาจาก Japan – Thailand Economic Partnership Agreement หรือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น มีจุดมุ่งหมาย 2 ประเด็น คือ
1. การเปิดเสรีสินค้า บริการ และการลงทุนให้แก่กันและกัน ในระดับที่ต่างฝ่ายต่างรับได้ โดยมีกลไกแก้ปัญหาหากการเปิดเสรีส่งผลกระทบรุนแรง และสำหรับสินค้า บริการ การลงทุนที่ฝ่ายใดยังไม่พร้อมเปิดในขณะนี้ก็สามารถเปิดเจรจาทบทวนเพิ่มเติมใหม่ได้ในอนาคต
2. ความร่วมมือ รวม 9 สาขา คือ เกษตร ป่าไม้ และประมง / การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์/ การสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ / บริการการเงิน / เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) / วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม / วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) / การท่องเที่ยว / การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ซึ่งมีเรื่องครัวไทยสู่โลก อุตสาหกรรมเหล็ก ยานยนต์ สิ่งทอ และการประหยัดพลังงานเป็นหลัก โดยที่ความตกลงนี้มีกลไกทบทวนปรับปรุงในอนาคต หากฝ่ายใดต้องการบอกเลิกก็สามารถทำได้เพียงแค่แจ้งอีกฝ่ายล่วงหน้า 1 ปี
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
-กฎทั่วไป ซึ่งเป็นกฎหลักหรือกฎทั่วไปใช้กับทุกสินค้า
ภายใต้ข้อตกลง FTA ไทย-ญี่ปุ่น ไม่กำหนดให้ใช้กฎทั่วไป
-กฎเฉพาะสินค้า เป็นกฎที่ใช้กับสินค้าเฉพาะรายการ หรือ กฎที่ยกเว้นจากกฎทั่วไป
สินค้าภายใต้ JTEPA จัดอยู่ในกฎนี้ เกณฑ์ที่ใช้มีดังนี้
1.กฎการผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained Goods)
2.การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Change in Tariff Classification)
3.กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศไทย /ญี่ปุ่น (Qualify Value Content : QVC) ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของราคาสินค้า F.O.B.
สูตร QVC = (FOB – VNM)/ FOB x 100
FOB = FREE ON BOARD (ราคาสินค้าตาม เอฟโอบี)
VNM = VALUE OF NON – ORIGINATING MATERIAL (มูลค่าวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตภายในประเทศ)
ข้อดีของ JTEPA
- การสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจและเพิ่มการลงทุนในไทย จะส่งสัญญาณให้นักลงทุนชาติอื่นๆ ลงทุนในไทยมากขึ้นเพื่อได้ตลาดญี่ปุ่น
- สินค้าเกษตร ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีทันทีสำหรับ กุ้ง ผลไม้เมืองร้อน ผัก ผลไม้แปรรูป ผลไม้กระป๋อง ยกเลิกภาษีใน 5-10 ปีสำหรับปลาหมึก อาหารสุนัขและแมว ลดภาษีลงกว่าครึ่งหรือครึ่งหนึ่งในระยะแรกสำหรับอาหารทะเลสำเร็จรูป และไก่ต้มสุก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้โควตาสำหรับ กล้วย แป้งมันสำปะหลัง กากน้ำตาล สับปะรดสด โดยไม่เสียภาษี
- สินค้าอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีทันที สำหรับอัญมณี สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เคมีภัณฑ์ และยกเลิกภาษีใน 7 - 10 ปีสำหรับรองเท้าและเครื่องหนัง สินค้าที่ลดภาษีทันทีคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 80 ของสินค้าไทยที่เข้าญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมา
- การค้าบริการ ไทยเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเพิ่มเติมจาก WTO เพียง 14 สาขา ขณะที่ญี่ปุ่นเปิดให้ไทยเพิ่มเติมหรือเปิดกว้างขึ้นจาก WTO ถึงกว่า 135 สาขา
- การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีโดยทั่วไป ญี่ปุ่นยอมรับที่จะพิจารณาเทียบวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับในประเทศไทยเทียบเท่ากับวุฒิปริญญาที่ได้ในญี่ปุ่น ทำให้คนไทยสามารถเข้าไปตั้งกิจการให้บริการในญี่ปุ่นได้หลายสาขา อาทิ สาขาโฆษณา โรงแรม ร้านอาหาร จัดเลี้ยง จัดการประชุม จัดทัวร์ รักษาความปลอดภัย ล่ามแปล บริการดูแลคนสูงอายุ สอนภาษา รำไทย ฯลฯ
สำหรับพ่อครัว-แม่ครัวไทย ซึ่งไม่ต้องจบปริญญาตรี ญี่ปุ่นยอมลดเงื่อนไขการเข้าเมืองเรื่องประสบการณ์ทำงานจาก 10 ปีเหลือ 5 ปี (รวมเวลาศึกษาด้วย เช่น ปวส. 3 ปี) ส่วนการรับพนักงานสปาและคนดูแลผู้สูงอายุไทยเข้าไปทำงานในญี่ปุ่นนั้น ทั้งสองฝ่ายตกลงจะเจรจารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุปให้ได้ภายใน 2 ปีหลัง JTEPA มีผลบังคับใช้ และมีกลไกเจรจาอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้ปริญญาต่อไป
- ความร่วมมือสาขาต่างๆ ภาคเกษตร ธุรกิจ SMEs การท่องเที่ยว ฯลฯ ได้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ที่จะต้องใช้ประโยชน์จากกลไกที่วางไว้ให้เต็มที่
ข้อเสียของ JTEPA
- เปิดเสรีภาคอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้ประกอบการที่ต้องการให้คงภาษีปกป้องอุตสาหกรรมของตนอาจได้รับผลกระทบการพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนในไทยลดลง และการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูงจากญี่ปุ่นอาจจะลดลงเนื่องจากสามารถนำเข้าชิ้นส่วนที่ผลิตในญี่ปุ่นได้โดยตรงเพราะกำแพงภาษีที่ลดลง แต่ก็มีเวลาปรับตัวระหว่าง 5-11 ปี ทั้งนี้เอกชนไทยก็ทราบดีว่าเป็นแนวโน้มของการเปิดเสรีในกรอบพหุภาคี (WTO) และอาเซียน (AFTA) อยู่แล้ว นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ยังได้เตรียมกองทุนเพื่อทำงานร่วมกับสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ในการให้คำปรึกษาด้านการปรับตัว
- รายได้จากภาษีศุลกากร เป็นปกติที่ลดภาษีแล้วประเทศจะขาดรายได้ภาษีศุลกากร รายได้ส่วนที่รัฐบาลขาดไปคือรายรับส่วนที่ผู้ผลิตประหยัดได้จากการนำเข้าวัตถุดิบ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดีขึ้น รัฐบาลจะได้รายได้จากภาษีอื่นเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนั้น การลดภาษีจะทำให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีทางเลือก สินค้าและบริการราคาถูกลง คุณภาพดีขึ้น
- การขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นคงมีต่อไป เพราะถ้าไทยจะขายสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมให้ญี่ปุ่นมากขึ้นก็ยังคงต้องนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรมาขยายการผลิตด้วยเช่นกัน การขาดดุลควรมองภาพรวมเพราะหากขาดดุลกับประเทศหนึ่งเพื่อได้ดุลกับประเทศอื่นๆ และได้ดุลในภาพรวมก็ไม่เกิดความเสียหายใดๆ
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3g8cy3O , https://bit.ly/3dEDwhW
Share This :
More News & Events :
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) 14 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น 22 Jan 2021
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าชั่วคราว (A.T.A CARNET) 10 Jul 2020
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.