ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว)
- 14 Jan 2022
ขั้นตอนการนำเข้าสัตว์เลี้ยง (สุนัขและแมว)
หลายคนคงอยากจะได้สัตว์เลี้ยงสายพันธุ์จากต่างประเทศหรือ อยากจะนำสัตว์เลี้ยงตัวโปรดย้ายถิ่นฐานกลับมายังประเทศไทยซึ่งวิธีการนำเข้าสัตว์เลี้ยงแต่ละสายพันธุ์นั้นมีวิธีที่ต่างกัน
Lissom Logistics ขอนำเสนอ ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยงจากต่างประเทศประเภทสุนัขและแมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมของคนทั่วไป
1. ขั้นตอนแรกจำเป็นต้องทำการขอใบอนุญาตนำเข้าสัตว์ก่อน โดยผู้นำของเข้ายื่นแบบคำขออนุญาตนำสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร ณ ด่านกักกันสัตว์/ด่านตรวจสัตว์น้ำ/ด่านตรวจสัตว์ป่า ประจำท่าที่นำเข้า ตามแต่ละชนิดของสัตว์ที่จะนำเข้า โดยต้องยื่นคำขอล่วงหน้าก่อนการนำเข้าไม่น้อยกว่า 15 วัน
เอกสารสำหรับการขอ Import permit ประกอบด้วย
– สำเนา passport ของผู้เดินทาง หรือผู้ที่ทำการนำเข้าสัตว์เลี้ยง
– ที่อยู่ประเทศต้นทาง และที่อยู่ที่ประเทศไทย
– รายละเอียดของสัตว์เลี้ยง (เช่น พันธุ์, เพศ, อายุ, สี, microchip เป็นต้น)
– ฝังไมโครชิพ
– สุนัขและแมวต้องมีอายุ 4 เดือนขึ้นไป
– เอกสารการฉีดวัคซีน (rabies vaccination, DHP/L etc.) เข็มแรกไม่น้อยกว่า 21 วันก่อนเดินทาง
– รูปภาพของสัตว์เลี้ยง
– รายละเอียดการเดินทาง (วัน, เวลา, flight ที่จะถึงประเทศไทย)
– ชื่อสนามบินที่ใช้ในการส่งออกสัตว์เลี้ยง
– แนบเอกสาร ร.1/1 (แบบคำขออนุญาตนำสัตว์/ซากสัตว์)
ด่านกักกันสัตว์จะพิจารณาอนุญาต โดยออกหนังสือ Import permits และเงื่อนไขการนำเข้า (requirement)
ให้แก่ผู้ยื่นคำร้องใช้เวลาดำเนินการ 2 วัน และผู้นำเข้าจะต้องนำไปแสดงต่อสัตวแพทย์ต้นทาง ให้ทำการตรวจและรับรองสุขภาพสัตว์
2. หากผู้นำเข้าไม่ได้ใช้บริการตัวแทนออกของ ผู้นำเข้าต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการศุลกากร สามารถลงทะเบียนได้ที่ทำการศุลกากรทั่วประเทศ
3. การผ่านพิธีการทางศุลกากร โดยผู้นำของเข้าสามารถจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าได้ 2 ประเภท ดังนี้
- ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102) มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
- ผู้นำของเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102) แสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรพร้อมหลักฐานประกอบดังนี้
- บัตรประจำตัว/หนังสือเดินทาง (PASSPORT)
- ต้นฉบับหรือสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน (AIR WAYBILL)
- ใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) และใบอนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร (ร.7)
- เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบความถูกต้องของใบขนสินค้าฯ และเอกสารประกอบ พร้อมประเมินราคาและค่าภาษีอากร
- ผู้นำของเข้าหรือตัวแทน ชำระค่าภาษีอากร
- นำสัตว์เลี้ยงมาพบเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อตรวจปล่อย
- ผู้นำของเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102) แสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรพร้อมหลักฐานประกอบดังนี้
- ใบขนสินค้าขาเข้า (กศก.99/1) มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
- ผู้นำของเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร พร้อมชำระค่าภาษีอากร ให้ครบถ้วน
- ระบบคอมพิวเตอร์ศุลกากรสั่งการตรวจเป็น "ให้เปิดตรวจ" และจะกำหนดชื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้รับผิดชอบการตรวจปล่อยโดยอัตโนมัติ
- ในกรณีด่านกักกันสัตว์/ด่านตรวจสัตว์น้ำ/ด่านตรวจสัตว์ป่า ขอทำการตรวจสอบของก่อนการตรวจปล่อยสินค้า ให้ผู้นำของเข้าติดต่อคลังสินค้าเพื่อเตรียมของให้หน่วยงานดังกล่าวทำการตรวจสอบให้แล้วเสร็จ
- เจ้าหน้าที่ศุลกากรผู้ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบสินค้า พิกัด ราคาและใบอนุญาตนำเข้า หากไม่พบความผิด เจ้าหน้าที่จะบันทึกผลการตรวจในระบบฯ ซึ่งจะตอบกลับให้คลังสินค้าทราบถึงการตรวจปล่อยสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว เพื่อให้ผู้นำของเข้าติดต่อรับของกับคลังสินค้าต่อไป
4. ในวันนำเข้า ผู้นำเข้าจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์ นำเอกสารใบรับรองสุขภาพสัตว์พร้อมกับสำเนา Import permit และเอกสารอื่นมาแสดงเพื่อขอใบอนุญาตฯ (แบบ ร.6 ใบแจ้งอนุมัตินำเข้า, ร.7ใบอนุญาตนำเข้า) เอกสารประกอบด้วย
– สำเนา Import Permit
– เอกสาร Health Certificate ต้นฉบับ (รับรองตามเงื่อนไขใน Import Permit และ Requirement)
– สำเนา Air Way Bill
– สำเนา Invoice (ถ้ามี)
– Draft ใบขนสินค้าขาเข้าศุลกากร
5. นำเอกสารแบบ ร.6 ใบแจ้งอนุมัตินำเข้าและ ร.7ใบอนุญาตนำเข้ายื่นต่อศุลกากรพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมและภาษีนำเข้า
หมายเหตุ ใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) ต้องออกให้ก่อนวันนำเข้า หากเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบว่าใบอนุญาตที่สำแดงนั้นออกหลังวันนำเข้า จะพิจารณาความผิดฐานหลีกเลี่ยงข้อจำกัดในการนำเข้า ตามมาตรา 244 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 โดยเปรียบเทียบปรับร้อยละ 10 ของราคาของ ไม่น้อยกว่า 1,000.- บาท แต่ไม่เกิน 20,000.- บาท โดยไม่คำนึงถึงว่าของนั้นๆ จะต้องเสียอากรหรือไม่
แหล่งที่มา
https://bit.ly/3Gv9fRP
https://bit.ly/31XCyh1
https://bit.ly/3GseBxn
Share This :
More News & Events :
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น 22 Jan 2021
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าชั่วคราว (A.T.A CARNET) 10 Jul 2020
-
FORM JTEPA คืออะไร? 03 Jul 2020
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.