ความแตกต่างระหว่าง LINER VESSEL กับ CHARTER VESSEL
- 21 May 2021
ความแตกต่างระหว่าง LINER VESSEL กับ CHARTER VESSEL
ความแตกต่างระหว่างการขนส่งสินค้าด้วยเรือที่มีตารางเดินเรือประจําและเรือเช่าเหมา มีดังนี้
LINER VESSEL
- ตารางเดินเรือ (SHIPPING SCHEDULE) จะมีตารางการเดินเรือที่แน่นอน ซึ่งเรือจะเข้าเทียบท่าตามวันเวลาที่กําหนด
- ค่าระวางเรือ (FREIGHT CHARGE) Owner เป็นผู้กําหนดจะคิดตาม หน่วย เช่นน้ำหนัก หรือปริมาตรของสินค้า
- ผู้ว่าจ้างคือ Exporter & Importer
- ปริมาณว่าจ้าง ปริมาตรน้ำหนัก หรือจํานวน Container
- DEMURRAGE/DESPATCH มีเฉพาะ Demurrage ของ container ที่คืนตู้ช้า
- เส้นทางเดินเรือ มีกําหนดเส้นทางเดินเรือที่ตายตัว (เหมือนรถโดยสารประจําทางที่จอดตามป้ายที่กําหนด)
CHARTER VESSEL
- ตารางเดินเรือ (SHIPPING SCHEDULE) ไม่มีตารางการเดินเรือที่ แน่นอนCharterer เป็นผู้กําหนด
- ค่าระวางเรือ (FREIGHT CHARGE) Owner เรียกเก็บจาก Charterer แบบเหมาลํา หรือ อัตราต่อวัน
- ผู้ว่าจ้างคือ Charterer
- ปริมาณว่าจ้าง เหมาทั้งลํา หรือบางส่วนของเรือ
- DEMURRAGE/DESPATCH มีสัญญาว่าจ้าง (Charter Party) กําหนดอัตราDemurrage/ Despatch money
- เส้นทางเดินเรือ ไม่มีตารางกําหนดเส้นทางเดินเรือ (เหมือนการเช่าเหมา รถบัส หรือการว่าจ้างรถแท็กซี่)
โดยการเลือกใช้ ถ้าหากผู้นำเข้าส่งออกขนส่งสินค้าแบบเทกอง หรือ แบบตู้คอนเทนเนอร์ทางเราแนะนำควรใช้แบบ Liner มากกว่าแบบ Charter เนื่องจากค่าใช้จ่ายจะคำนวนจากปริมาตรน้ำหนัก หรือจํานวน Container จะทำให้ได้ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า แต่ถ้าหากมีการขนส่งเยอะหรือขนส่งสินค้าเป็นเที่ยวๆ หรือแบบเร่งด่วน แบบ Charter จะมีประสิทธิภาพมากกว่าเนื่องจากทางผู้ว่าจ้างเรือนั้นสามารถเป็นผู้กำหนดการเดินเรือเองได้ ซึ่งขึ้นอยุ่กับข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับเรือ
ตารางเดินเรือ (SHIPPING SCHEDULE)
ตารางเดินเรือมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อการนําเข้าและส่งออก เพราะมีผลโดยตรงต่อการส่งมอบสินค้า ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกจึงจําเป็นจะต้องทราบตารางเดินเรือเพื่อที่จะกําหนดระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าหรือให้ทันต่อความต้องการของสายการผลิตในกรณีที่เป็นการนําเข้า หรือกําหนดระยะเวลาในการผลิตหรือรวบรวมสินค้าเพื่อให้ทันต่อเที่ยวเรือที่จะส่งออกก่อนที่ L/C หรือคําสั่งซื้อจะหมดอายุ เป็นต้น
ค่าระวางเรือ (FREIGHT CHARGE)
เนื่องจากค่าระวางเรือและค่าใช้จ่ายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนี้ค่าระวางในเส้นทางเดินเรือเดียวกันของสายเดินเรือต่างๆ ก็อาจไม่เท่ากันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางที่มีเรือนอกชมรมเดินเรือวิ่งอยู่ในเส้นทางด้วย ดังนั้นผู้นําเข้าและผู้ส่งออกที่ต้องจ่ายค่าระวางด้วยตนเองจึงควรจะสอบถามค่าระวางจากตัวแทนเรือหลายๆ แห่ง และควรที่จะให้ตัวแทนเรือออกหนังสือเสนอราคาค่าระวางเรือรวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องจ่ายเพิ่มเติมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
โครงสร้างค่าระวางเรือของ Liner Vessel มีลักษณะแตกต่างจาก Charter Vessel คือ
ค่าระวางของ Liner Vessel หรือเรือประจําเส้นทาง
ค่าระวางของเรือวิ่งประจําเส้นทาง อัตราจะขึ้นอยู่กับระยะทางเส้นทางเดินเรือและตารางเวลา เรือวิ่งประจําเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่เป็นสมาชิกอยู่ในชมรมเดินเรือประจําเส้นทางนั้นๆ เช่น ชมรม
เดินเรือเอเชีย-อเมริกาเหนือ (Asia-North American Eastbound Rate Agreement - ANERA) อัตราก็จะใกล้เคียงกันทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีเรือที่อยู่นอกชมรมเดินเรือมากขึ้น เรือเหล่านี้ก็จะมีอัตราค่าระวางน้อยกว่าเรือในชมรมเดินเรือ ค่าระวางของเรือวิ่งประจําเส้นทางประกอบไปด้วย
- อัตราค่าระวางพื้นฐาน (Basic Freight Rate)
- เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (Bunker Adjustment Factor Surcharge- BAF)
- เงินเก็บเพิ่มค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา(Currency Adjustment Factor Surcharge - CAF)
- นอกจากค่าระวางเรือแล้ว บริษัทเรือยังอาจเรียกเก็บค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษที่ต้นทางได้อีกด้วย เช่น
1. ค่าขนถ่ายตู้สินค้าที่ท่าเรือ (Terminal Handling Charge - THC)
2. ค่าท่าคับคั่ง (Congestion Surcharge)
3. ค่าบรรจุสินค้าเข้าคอนเทนเนอร์ (Container Freight Station Charge - CFS Charge)
4. ค่าออกเอกสาร เป็นต้น
5. ซึ่งค่าระวางพิเศษต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายพิเศษเหล่านี้บริษัทเรือเรียกเก็บในอัตราค่อนข้างสูง เช่น
- ค่า CFS Charge สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 4,215 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 8,430 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต
- ค่า THC สําหรับสินค้าที่ส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป เรียกเก็บในอัตรา 2,600 บาทต่อตู้ขนาด 20 ฟุต (อัตรา ณ เดือน สิงหาคม 2543) / 3,900 บาทต่อตู้ขนาด 40 ฟุต
6. ค่าระวางพิเศษหรือค่าใช้จ่ายพิเศษที่เรียกเก็บที่ต้นทางนี้เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือต้องจ่ายออกไปแล้วนับว่าเป็นเงินที่เรียกเก็บในอัตราที่สูงมาก
ค่าระวางของเรือ Charter หรือเรือจรเช่า
- ไม่มีอัตราแน่นอน เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างเจ้าของเรือกับผู้เช่าเรือ
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3u4eDnY
สนใจขอคำปรึกษา อยากได้คำแนะนำ หรือติดปัญหา สามารถติดต่อทีมงาน Lissom Logisticsได้จากช่องทางข้างล่างนี้
TEL : 02-8959771
MOBILE : 091- 4195466
E – MAIL : [email protected]
WEBSITE : http://www.lissom-logistics.co.th/index.php
Share This :
More News & Events :
-
5 ท่าเรือสำคัญในประเทศไทย 18 Nov 2024
-
Fulfillment คืออะไร 23 Aug 2024
-
SHOCKWATCH คืออะไร 02 Aug 2024
-
Phytosanitary Certificate คืออะไร 17 Jul 2024
-
ชนิดและขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ 04 Jul 2024
-
Freight Forwarder services 23 Feb 2024
-
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนส่งทางอากาศ 09 Feb 2024
-
10_บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ชั้นนำ 26 Jan 2024
-
NVOCC 12 Jan 2024
-
ประเภทของเรือขนส่งสินค้า 13 Dec 2023
-
การขนส่งทางอากาศ 01 Dec 2023
-
ป้ายทะเบียนรถ 27 Nov 2023
-
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️ 10 Nov 2023
-
BOI คืออะไร ? 22 Sep 2023
-
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร 24 Aug 2023
-
Excepted quantities (EQ) คืออะไร 23 Jun 2023
-
สินค้าส่งออกของไทยที่ต่างชาติชื่นชอบ 09 Jun 2023
-
การประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance) 05 May 2023
-
รู้จัก 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน 10 Mar 2023
-
ค่าธรรมเนียมกรมศุลฯที่ผู้นำเข้า-ส่งออกต้องรู้ 08 Dec 2022
-
Reverse Logistics กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ 11 Nov 2022
-
ฐานความผิดสำคัญทางศุลกากร 28 Oct 2022
-
ความตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทย 14 Oct 2022
-
ความหมายและผลกระทบของ เขตการค้าเสรี 30 Sep 2022
-
แนวคิด Kaizen กับกระบวนการทางโลจิสติกส์ 26 Aug 2022
-
ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 05 Aug 2022
-
ULD อุปกรณ์บรรทุกสินค้าสำหรับเครื่องบิน 22 Jul 2022
-
บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ 08 Jul 2022
-
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์ 29 Apr 2022
-
ระบบการขนส่งแบบ MILK RUN 11 Apr 2022
-
การขนส่งข้ามพรมแดน 25 Mar 2022
-
ขนส่งทางราง 15 Mar 2022
-
ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์ 25 Feb 2022
-
เทคโนโลยี 5G กับ โลจิสติกส์ 11 Feb 2022
-
RCEP คืออะไร? 28 Jan 2022
-
ขั้นตอนนำเข้าสัตว์เลี้ยง(สุนัขและแมว) 14 Jan 2022
-
EEC คืออะไร? 29 Oct 2021
-
คลังสินค้าทัณฑ์บน(Bonded Warehouse) 30 Jul 2021
-
4 ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการขนส่ง 09 Jul 2021
-
กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำ 02 Jul 2021
-
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า 04 Jun 2021
-
รูปแบบของการว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล 14 May 2021
-
การ Enter เอกสารคืออะไร? 07 May 2021
-
Elastic Logistics คืออะไร? 30 Apr 2021
-
ความรู้เกี่ยวกับตารางการเดินเรือ 23 Apr 2021
-
การขนส่งทางรถแบบ FTL และ LTL แตกต่างกันอย่างไร? 16 Apr 2021
-
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า 09 Apr 2021
-
คุณรู้จัก CROSS BORDER หรือไม่? 02 Apr 2021
-
SOC และ COC คืออะไร? 19 Mar 2021
-
INTERMODAL & MULTIMODAL แตกต่างกันอย่างไร? 05 Mar 2021
-
การคำนวนภาษีนำเข้า 25 Feb 2021
-
การตรวจสอบอัตราอากรขาเข้าและใบอนุญาตนำเข้า 19 Feb 2021
-
HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร? 17 Feb 2021
-
การตรวจสอบ Form E ก่อนดำเนินพิธีการศุลกากร 05 Feb 2021
-
พิธีการนำเข้าสินค้าเบื้องต้น 22 Jan 2021
-
อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง? 09 Dec 2020
-
Demurrage & Detention คืออะไร? 18 Nov 2020
-
กลุ่มสินค้าส่งออกยอดนิยมยุค New Normal 06 Nov 2020
-
INCOTERM สำคัญต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร? 30 Oct 2020
-
ค่า LSS คือค่าอะไร? 16 Oct 2020
-
ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร? 09 Oct 2020
-
กรมศุลกากรยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ากลุ่มเครื่องจักร 11 Sep 2020
-
การนำเข้ามันสำปะหลัง 08 Sep 2020
-
เครื่องหมาย มอก. บนสินค้าที่ควรรู้! 21 Aug 2020
-
พิกัดรหัสสถิติ 31 Jul 2020
-
การนำเข้า-ส่งออกสินค้าชั่วคราว (A.T.A CARNET) 10 Jul 2020
-
FORM JTEPA คืออะไร? 03 Jul 2020
Why Join EASY DIRECTORY ?
Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.